แมมมอธ

พบซากลูกแมมมอธ สภาพสมบูรณ์มาก เหมือนยังมีชีวิต ในใต้ชั้นดินเยือกแข็ง ที่แคนาดา

สำนักข่าว เอเอฟพี ได้ออกรายงานว่า ชนพื้นเมืองแห่งหนึ่ง ในแคนนาดา ได้ขุดค้นพบ “ซากลูกช้างแมมมอธ” คณะที่พวกเขากำหลังขุดหาทองคำ ที่เหมืองแห่งหนึ่ง ในเมืองดอว์สันซิตี้ ดินแดนยูคอน ทางทิศตะวันตกของประเทศแคนนาดา และได้ตั้งชื่อ ให้กับซากลูกช้างแมมมอธนี้ว่า “นันโชกา” ที่แปลว่า ลูกสัตว์ตัวใหญ่

และเมื่อไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลท้องถิ่น ของดินแดนยูคอน ได้ออกมากล่าวถึงเหตุการณ์ ที่ค้นพบซากลูกช้าแมมมอธ อายุราวๆ ประมาณ 30,000 ปี ในชั้นใต้ดิน เพอร์มาฟรอสต์ ซึ่งมันช่วยรักษาร่าง ซากของลูกช้างแมมมอธ ไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยนั้นเอง

แมมมอธ
คนงาน ของเหมืองทองแห่งหนึ่ง เป็นผู้ค้นพบซากลูกแมมมอธ ดังกล่าว

ขณะที่รถตักดินบังเอิญไปกระทบ เข้ากับวัตถุบางอย่างในโคลน และเมื่อพวกเขาพบว่ามัน คือซากช้างดึกดำบรรพ์ เหล่าคนงานเหมือง และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มาตรวจสอบต้องตกตะลึง เนื่องจากโครงร่าง และผิวหนังเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เสมือนกับว่ามันยังมีชีวิตอยู่

โดยยังคงมีขน และร่องรอยขีดข่วน ที่เท้าปรากฏให้เห็นชัดเจน ซากลูกช้างตัวเมียดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า “นุนโชกา” (Nun Cho Ga) ซึ่งแปลว่า “ลูกสัตว์ตัวใหญ่” ในภาษาของชนพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำยูคอน โดยทางการท้องถิ่นระบุว่า มันเป็นซากลูกแมมมอธขนยาว ที่สมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ

และมีขนาดตัวพอกับ “ลยูบา” (Lyuba) ซากลูกแมมมอธขนยาวอายุ 42,000 ปี ซึ่งค้นพบที่ไซบีเรียเมื่อปี 2007 งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ที่เผยแพร่เมื่อปี 2021 ซึ่งวิเคราะห์ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตโบราณ ที่หลงเหลืออยู่ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว

พบว่าแมมมอธขนยาวมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับม้าป่า สิงโตถ้ำ และควายไบซันยักษ์ ในทุ่งหญ้าสเตปป์ของภูมิภาคยูคอน มาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง จนกระทั่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 5,000 ปีก่อน โดยสาเหตุนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ

ไม่ใช่เพราะถูกมนุษย์ ไล่ล่าจนสูญพันธุ์แต่อย่างใด แมมมอธขนยาวตัวผู้มีความสูงราว 3.5 เมตร ส่วนตัวเมียเตี้ยกว่าเล็กน้อย งาที่โค้งงอนของมันมีความยาวสูงสุดถึง 5 เมตร ส่วนขนหนาใต้ท้องที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น มีความยาวได้ถึง 3 เมตรเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามมันมีใบหูเล็กกว่าช้าง ในปัจจุบันมากและมีหางสั้น เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน เนื่องจากแมมมอธมีพันธุกรรม ใกล้เคียงกับช้างในปัจจุบันมาก โดยมีดีเอ็นเอที่เหมือนกันถึง 99.4% นักวิทยาศาสตร์หลายคณะ จึงมีความคิดที่จะทำให้ พวกมันฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง

โดยใช้เทคนิคการโคลน หรือดัดแปลงพันธุกรรมหลากหลายวิธี แต่ยังไม่มีผู้ใดทำได้สำเร็จ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ได้มีการค้นพบ “ซากลูกช้างแมมมอธ” อายุกว่า 3 หมื่นปี ขณะขุดหาทองคำภายในที่เหมืองคลอนไดก์ ในเมืองดอว์สันซิตี ประเทศแคนาดา

พร้อมตั้งชื่อซากลูกช้างยุคดึกดำบรรพ์ว่า “นันโชกา” (Nun cho ga) เป็นภาษาถิ่นมีความหมายว่า “ลูกสัตว์ตัวใหญ่” ขณะที่นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า ซากลูกช้างแมมมอธตัวนี้ มีสภาพเกือบสมบูรณ์ทั้งหนังและขน ซึ่งสวยงามมาก และเป็นหนึ่งในซากสัตว์ จากยุคน้ำแข็งที่น่าเหลือเชื่อที่สุด ที่เคยมีการค้นพบบนโลก

เชื่อว่าซาก ลูกช้างแมมมอธ นันโชกาเป็นตัวเมีย และตายในช่วง ยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 30,000 ปี ก่อน

“การค้นพบนี้เป็นครั้งแรกที่เจอซากแมมมอธเกือบสมบูรณ์ ในดินแดนทวีปอเมริกาเหนือ โดยก่อนหน้านี้มีการค้นพบซาลูกช้างแมมมอธครึ่งตัว ซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อให้ว่า “เอฟฟี่” (Effie) ที่เหมืองทองคำในรัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2491 หรือกว่า 74 ปีที่แล้ว”

นายแกรนต์ ซาซูลา นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวหลังเข้าตรวจสอบว่ าซากลูกช้างแมมมอธตัวนี้มีสภาพเกือบสมบูรณ์ทั้งหนังและขน “มันสวยงามมาก และเป็นหนึ่งในซากสัตว์ จากยุคน้ำแข็งที่น่าเหลือเชื่อที่สุด ที่เคยมีการค้นพบบนโลก” นายซาซูลากล่าว พร้อมระบุเชื่อว่าซากลูกช้างแมมมอธนันโชกาเป็นตัวเมียและตายในช่วงยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 30,000 ปีก่อน

การค้นพบนี้เป็นครั้งแรก ที่เจอซากแมมมอธเกือบสมบูรณ์ ในดินแดนทวีปอเมริกาเหนือ โดยก่อนหน้านี้ มีการค้นพบซาลูกช้างแมมมอธครึ่งตัว ซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อให้ว่า “เอฟฟี่” (Effie) ที่เหมืองทองคำในรัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2491 หรือกว่า 74 ปีที่แล้ว

ด้านทางการท้องถิ่นดินแดนยูคอนเปิดเผยด้วยว่าซากลูกช้างแมมมอธนันโชกามีขนาดใกล้เคียงกับซากลูกช้างแมมมอธ “ลิวบา” (Lyuba) อายุราว 42,000 ปีที่พบในภูมิภาคไซบีเรีย ของรัสเซีย เมื่อปี 2550

อบคุณแหล่งที่มา : bbc.com / afp.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : first-ukrainian.com